หนี้ท่วมหัวกลัวโดนยึด! เจ้าหนี้มีสิทธิ์อายัดอะไรบ้าง?

news

 

             หลายคนอาจจะยังไม่รู้ถึงผลเสียของ หนี้เสีย (NPL)  หากปล่อยปละ ละเลยจนเกิด หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน จะส่งผลโดยตรงกับเครดิตทางการเงิน สูญเสียโอกาสในการขอสินเชื่อประเภทต่างๆ โดยเฉพาะ ผู้ที่วางแผนจะขอกู้สินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือสินเชื่อรถยนต์ หากยังไม่มีการเจรจาแก้ไขหนี้ จะถูกดำเนินคดี จนกระทั่งถูกพิพากษาโดนยึดทรัพย์เชิงของการบังคับคดี ทางที่ดี อย่าปล่อยให้ เกิดหนี้ท่วมหัว ถ้าไม่กลัวโดนยึดทรัพย์ 

             บทความนี้ ASN Finance พามาเช็กข้อกฎหมาย เจ้าหนี้มีสิทธิ์อายัดอะไรบ้าง? ตามไปดูกัน

 

ทำความเข้าใจ “ยึดทรัพย์” และ “อายัด” ต่างกันอย่างไร?

              คำว่า "ยึด" หมายถึง กระทำการใดๆ ที่ถูกยึดเพื่อให้ทรัพย์สินนั้นได้เข้ามาอยู่ในความควบคุม ดูแล หรือครอบครองของผู้ดำเนินการยึดทรัพย์สินนั้น 

             ส่วน "อายัด" มีความหมายว่า การสั่งให้บุคคลที่ถูกอายัดทรัพย์สิน ไม่ให้จำหน่าย จ่าย โอน หรือกระทำนิติกรรมใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน หรือสิทธิเรียกร้องที่ได้สั่งอายัดไว้

อัปเดตล่าสุด!  

การอายัดเงิน เจ้าหนี้มีสิทธิ์อายัดอะไรบ้าง?

 

1.เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยขยัน ค่าล่วงเวลา ก่อนหักภาษีและประกันสังคม ดังนี้

- เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาท อายัดไม่ได้

- เงินเดือนเกิน 20,000 บาท เจ้าหนี้สามารถร้องขออายัดส่วนที่เกิน 20,000 บาทได้ แต่จะต้องเหลือไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท

2.ค่าล่วงเวลา (OT) เงินเบี้ยขยัน ค่าคอมมิชชั่น ถูกอายัดได้ไม่เกิน 30%

3.เงินโบนัส ถูกอายัดได้ไม่เกิน 50%

4.เงินตอบแทน กรณีออกจากงาน ถูกอายัดได้ 100%

5.เงินค่าคอมมิชชั่น ถูกอายัดได้ 30%

6.เงินค่าตอบแทนอื่น ๆ   เช่น ค่สวัสดิการ ค่าน้ำมัน ค่าที่พัก ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าตำแหน่ง ค่าเช่าบ้าน ค่าเช่าทรัพย์สิน เป็นต้น ถูกอายัดได้ 100%

7.บัญชีเงินฝากธนาคาร ถูกอายัดได้ทั้งหมด

8.เงินสหกรณ์ (เงินปันผล เงินเฉลี่ยคืน เงินค่าหุ้นสหกรณ์) ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือพนักงานบริษัท ถูกอายัดได้ทั้งหมด

9.ร่วมทุนกับผู้อื่นเปิดบริษัท หากผู้ร่วมลงทุนมีปัญหาถูกอายัดทรัพย์ ถูกอายัดได้เฉพาะส่วนที่เป็นทรัพย์สินของผู้ถูกอายัดเท่านั้น

10.หุ้น ถูกอายัดได้ทั้งหมด

 

             ขั้นตอนการอายัดเงินเดือน จะเกิดขึ้นเมื่อศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้ชนะคดีเท่านั้น หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน เจ้าหนี้มีสิทธิอายัดสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ได้  

 

             ทั้งนี้ การอายัดเงินเดือน โบนัส ค่าตอบแทนต่างๆ หากเจ้าหนี้รายแรกขออายัดเงินเดือนไปแล้ว เจ้าหนี้รายอื่น จะทำเรื่องขออายัดซ้ำไม่ได้ ต้องรอคิวให้รายแรกอายัดครบก่อน หรืออาจจะขอหารส่วนแบ่งเงินที่ถูกอายัดจากเจ้าหนี้รายแรกก็ได้ ถ้ารอก็จะรอได้ไม่เกิน 10 ปี หากเกิน 10 ปีก็จะหมดอายุความ

*อ้างอิงตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับที่ 30 พ.ศ.2560 

 

ข้อยกเว้น : สิทธิเรียกร้องที่อายัดไม่ได้

1.เงินเดือนข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยงานราชการ

2.เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

3.เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท (พ.ร.บ. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ)

4.เงินค่าวิทยฐานะ (ค่าตำแหน่งทางวิชาการ) ถ้าเป็นข้าราชการจะไม่ถูกอายัด แต่ถ้าเป็นสังกัดเอกชนจะถูกอายัด เพราะถือว่าเป็นเงินเดือน

5.เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ หรือลูกจ้างของรัฐบาล เว้นแต่กรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ

6.เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ ค่าชดใช้ เงินสงเคราะห์ หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของพนักงาน ลูกจ้าง คนงานที่นายจ้างจ่ายให้รวมกัน ไม่เกินเดือนละ 20,000 บาท หรือตามจำนวนที่ศาลเห็นสมควร

7.บำเหน็จ ค่าชดเชยหรือรายได้ของลูกหนี้ ที่ไม่ใช่บุคลากรในหน่วยงานราชการ ไม่เกิน 300,000 บาท

8.เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ที่ลูกหนี้ได้รับอันเนื่องมาจากความตายของบุคคลอื่น

9.เบี้ยคนพิการ เบี้ยคนชรา

 

              เห็นได้ชัดเจนว่า การมีหนี้เสีย หรือ หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน จะส่งผลให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มากมาย หากไม่อยากเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการบังคับดำเนินคดี จนเกิดการสูญเสียโอกาสต่าง ๆ ในอนาคต ควรวางแผนการเงินให้ถี่ถ้วน หากมีปัญหาด้านการเงิน หมั่นตรวจสอบสุขภาพการเงินให้ดีก่อนตัดสินใจทำเรื่องใหญ่ ASN Finance เป็นแหล่งกู้เงินที่เชื่อถือได้ ถูกกฎหมาย สามารถยื่นกู้ได้ แค่มีรถยนต์ก็นำมาแลกเป็นเงินก้อน สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ หรือ รีไฟแนนซ์รถยนต์ ไม่ต้องมีคนค้ำ รถไม่ต้องจอด ยื่นเอกสารออนไลน์ กู้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.69% ต่อเดือน* 

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

 

ข้อมูลจาก : www.set.or.th

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ


news

คำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม?

ใครเคยเอารถเข้าไฟแนนซ์ก็คงรู้ดีว่ากว่าอนุมัติ ต้องตรวจสอบความถูกต้องละเอียดมากแค่ไหน ASN Finance ตอบคำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม? ในบทความนี้กัน อ่านต่อ >

news

รู้แล้วไม่เครียด! เป็นหนี้ ไม่มีทางออก ทําไงดี?

สังเกตอาการที่ส่งสัญญาณไปต่อไม่ไหว “เป็นหนี้เกินตัว” ค้างชำระนานจนมีหนี้ก้อนโต ASN Finance ชี้ทางให้ เป็นหนี้ ไม่มีทางออก ทําไงดี? อ่านต่อ >

news

หนี้ท่วมหัว กลัวโดนยึด! เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ ?

ปัญหาปวด Head หนี้ท่วมหัว ทำยังไงดี? เจ้าหนี้มีสิทธิ์ยึดอะไรจากลูกหนี้ได้บ้าง ASN Finance ไขข้อข้องใจ เป็นหนี้เท่าไหร่ถึงโดนยึดทรัพย์ อ่านต่อ >