ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายศาล รับมือขอยื่นพิจารณาคดียึดทรัพย์
ลูกหนี้จำนวนมากไม่รู้พิษของหนี้เสีย หรือ NPL จึงทำให้ชะล่าใจ เพราะทันทีที่หนี้เสีย หรือค้างชำระเกิน 90 วัน ความน่าเชื่อถือหรือเครดิตจะหายวับไปกับตา เพราะมันจะมีรหัสติดในบัญชีดังกล่าวกับเครดิตบูโร ถ้าต้องการทำธุรกรรมทางการเงิน เช่น กู้สินเชื่อประเทภต่าง ๆ และมีการตรวจสอบประวัติ แหล่งกู้เงินจะรู้ทันทีว่า ลูกหนี้มีประวัติหนี้เสีย ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ
บทความนี้ ASN Finance รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการยึดทรัพย์ พร้อมรับมือขอยื่นพิจารณา ทำอย่างไร เมื่อถูกฟ้อง? จะมีอะไรน่าสนใจบ้าง แล้วลูกหนี้ควรทำอย่างไรในวันที่ได้รับหมายศาล ไปดูพร้อมกันได้เลย
ทำอย่างไร เมื่อถูกฟ้อง?
1.ตั้งสติ อย่าตกใจ และปฏิเสธการรับหมายศาล
แน่นอนว่าเมื่อเราผิดนัดชำระเกินกว่า 90 วันโดยปราศจากการติดต่อจากเจ้าหนี้ จะมี “หมายศาล” มาส่งถึงหน้าบ้าน ตามที่อยู่ทะเบียนบ้านในบัตรประชาชน ลูกหนี้ไม่มีสิทธิ์กล่าวอ้างว่าไม่รับทราบไม่ได้
หลายคนอาจตกใจจนทำตัวไม่ถูก ว่า หมายศาล เป็นเหมือนจดหมายจากเบื้องบนที่มีแต่ข่าวร้าย แต่ความจริงแล้ว หมายศาล เป็นเพียงการสื่อสารระหว่างศาลซึ่งเป็นคนกลางระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ โดยศาลมีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่าย
2.อ่านหมายศาลให้ละเอียด
เมื่อได้รับหมายศาลมาแล้ว ลูกหนี้มีหน้าที่อ่านให้เข้าใจว่า ศาลต้องการสื่ออะไร และมีระยะเวลาในการไปยื่นคำให้การต่อสู้คดีภายในกี่วัน เพราะตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าศาลทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการเจรจา จึงส่งหมายศาลเชิญให้ลูกหนี้เข้าไปให้ข้อเท็จจริง ลูกหนี้ไม่ต้องตกใจ หรือคิดฟุ้งซ่านใด ๆ ที่สำคัญ คดีแพ่งไม่มีการติดคุก
อ่านหมายศาลตรวจสอบอะไรบ้าง?
1.หมายเลขคดี
2.ที่ตั้งศาล
3.ประเด็นที่เจ้าหนี้ต้องการฟ้อง
4.จำนวนเงินที่ฟ้องตรงกับหนี้สินที่เกิดขึ้นหรือไม่
5.เจ้าหนี้ฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความที่กฎหมายกำหนดหรือไม่
*หากเจ้าหนี้ต้องการจะดำเนินคดีเพื่ออาศัยอำนาจศาลให้ลูกหนี้ติดต่อเพื่อชำระหนี้ ก็ต้องฟ้องภายในระยะเวลาหรืออายุความที่กฎหมายกำหนด โดยอายุความของคดีเริ่มนับจากวันผิดนัดชำระหรือวันที่ชำระหนี้ครั้งสุดท้าย ได้แก่ หนี้บัตรเครดิต 2 ปี สินเชื่อส่วนบุคคล 5 ปี หนี้จากเงินกู้ยืมแบบผ่อนคืนเป็นงวด 5 ปี
3.ไปศาลควรไปตามกำหนดนัดในคำฟ้อง
ภายหลังการรับหมายศาลแล้ว ไปศาลควรไปตามกำหนดนัดในคำฟ้อง และเตรียมคำอธิบาย เหตุผลและความจำเป็นต่าง ๆ ที่สามารถให้การและแจ้งต่อศาลเพื่อให้ศาลรับพิจารณาข้อเท็จจริง ในวันนัดควรไปก่อนเวลานัดอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มีเวลาตรวจสอบและเตรียมเอกสารให้เรียบร้อย เช่น บัตรประชาชน หากมีผู้ค้ำประกันต้องไปศาลด้วยหรือมอบอำนาจให้อย่างถูกต้อง
*ทุกครั้งในการลงนามในเอกสารของเจ้าหนี้ ลูกหนี้มีหน้าที่อ่านให้ละเอียดก่อนลงนามเสมอ เพราะหลังจากลงนามแล้วจะอ้างว่า ไม่รู้ไม่ได้
ลูกหนี้สามารถยอมความก่อนขึ้นศาลฟ้องร้องได้ไหม ?
ลูกหนี้และเจ้าหน้าสามารถยุติคดีฟ้องร้องโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เรียกสั้น ๆ ว่า พิพากษาตามยอม ซึ่งจะลูกหนี้หรือผู้ค้ำประกันที่ถูกฟ้องสามารถทำสัญญายอมความโดยไม่จำเป็นต้องจ้างทนายความ เพราะจะมีเจ้าหน้าที่ศาลและศาลช่วยตรวจสอบความถูกต้องและเป็นธรรมให้อยู่แล้ว ทำให้ลูกหนี้รับภาระในส่วนนี้น้อยลง และสามารถเจรจากับเจ้าหนี้ไม่ให้ลูกหนี้ต้องรับผิดในค่าทนายความของเจ้าหนี้ด้วย อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้ผิดสัญญา เจ้าหนี้สามารถดำเนินการบังคับคดีกับลูกหนี้ได้ทันที
ภายหลังการพิพากษา ลูกหนี้ต้องเตรียมตัวผ่อนผัน และแสดงความจริงใจต่อเจ้าหนี้ เพื่อป้องกันการถูกฟ้องร้องและมีคดีร้ายแรงติดตัวมากขึ้น ตรวจเช็ก เจ้าหนี้มีสิทธิ์ยึดอะไรบ้าง เพื่อรักษาสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน
สุดท้ายนี้ สิทธิและหน้าที่ของลูกหนี้ในกระบวนการยุติธรรม เป็นเรื่องสำคัญที่อยากให้เอาใจใส่ เพื่อเข้าใจหลักคิดในกระบวนการยุติธรรม ไม่ใช่ว่าเจอ หมายศาล ไปส่งที่บ้านแล้วจะชิงหนีหายไปซะก่อนเพราะสุดท้ายแล้ว มีคนที่ต้องรับผลกระทำต่อ
ASN Finance ช่วยให้ลูกหนี้ทุกคนสามารถไปต่อได้ ด้วยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เพียงแค่มีรถยนต์ก็สามารถนำมาเป็นหลักประกันในการขอกู้ โดยที่รถไม่ต้องจอด มีรถยนต์ใช้งานต่อได้สบาย ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.69% ต่อเดือน* มองหาแหล่งกู้ถูกกฎหมาย ASN Finance คือคำตอบ!
ที่มาข้อมูล : law.tu.ac.th / ธนาคารแห่งประเทศไทย
บทความอื่นๆ
ASN Finance สินเชื่อถูกกฏหมาย เพื่อคนมีความฝัน
ต้องการเงินด่วนอยู่ใช่ไหม? ขอแนะนำให้รู้จักกับ ASN Finance แหล่งกู้สินเชื่อออนไลน์ เพื่อคนมีความฝัน ตอบสนองความต้องการสินเชื่อในเวลาฉุกเฉิน อ่านต่อ >
รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ไหนดี ? 2567
ส่งท้ายปี มีเงินก้อนกลับไปหาที่บ้านหรือยัง!? ASN Financae ขอเสนอทางเลือกใหม่ สินเชื่อส่วนบุคคล ขอกู้ออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ไม่ต้องไปสาขา รีไฟแนนซ์รถยนต์ที่ไหนดี ส่งท้ายปี 2567 บทความนี้อาจมีคำตอบ! อ่านต่อ >
เงินสํารองฉุกเฉิน ควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี ?
ฉุกเฉินทั้งปี เอาเงินที่เก็บมาใช้ก็ไม่เรียกว่าเงินเก็บสำรองฉุกเฉินแล้ว ASN Finance พาไปสำรวจเงินสำรองฉุกเฉิน เริ่มเก็บยังไง ควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี แล้วฉุกเฉินแค่ไหน ถึงเรียกว่าฉุกเฉิน อ่านต่อ >