วิธีเอาตัวรอดเหตุฉุกเฉิน!  เช็คบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน

news

 

              รับมือเหตุฉุกเฉินบนถนนอย่างมือโปร พร้อมเคล็ดลับใช้สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ เป็นตัวช่วยทางการเงิน เหตุไม่คาดคิดบนท้องถนน เช่น รถเสีย ยางแตก หรืออุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ล้วนเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะคนที่ใช้รถเป็นประจำ หากไม่เตรียมตัวไว้ล่วงหน้า ไม่เพียงแต่จะเสียเวลา แต่ยังอาจเสียเงินแบบไม่ทันตั้งตัว

              หนึ่งในวิธีรับมือที่ได้ผลคือ มีสติ + มีแผน + มีเงินสำรอง บทความนี้ ASN Finance จะพาคุณไปรู้จักกับแนวทางเอาตัวรอดในสถานการณ์ฉุกเฉิน และ แนวคิดการใช้สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ให้เป็น เงินสำรองฉุกเฉินอย่างรัดกุม

วิธีเอาตัวรอดเหตุฉุกเฉิน!

1.ตั้งสติให้มั่น อย่าตื่นตกใจ

อุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้นกะทันหัน เช่น รถเสีย รถชน หรือยางระเบิด สิ่งแรกที่ควรทำคือ มีสติ เพราะการตั้งสติจะช่วยให้คุณประเมินสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบ เช่น มีใครบาดเจ็บไหม? รถเสียหายมากแค่ไหน? จำเป็นต้องเรียกรถลากหรือไม่?

2.พาตัวเองและผู้โดยสารไปยังที่ปลอดภัย

หากรถจอดเสียกลางถนน ควรรีบนำรถจอดข้างทาง เปิดไฟฉุกเฉิน และพาทุกคนลงจากรถไปยังจุดที่ปลอดภัยที่สุด หลีกเลี่ยงการยืนใกล้ถนนหรือท้ายรถเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน

3.เช็คอุปกรณ์ฉุกเฉินในรถ

การมีอุปกรณ์เหล่านี้ไว้ติดรถ ไม่เพียงช่วยให้คุณรอดในเหตุฉุกเฉิน แต่ยังแสดงถึงความรับผิดชอบในการขับขี่อย่างปลอดภัย

- สายพ่วงแบตเตอรี่

หากแบตเตอรี่หมดกลางทาง การมีสายพ่วงแบตไว้จะช่วยให้คุณขอความช่วยเหลือจากรถคันอื่นได้ทันที โดยไม่ต้องรอช่าง

- ป้ายสามเหลี่ยมสะท้อนแสง

ใช้วางห่างจากรถ 50-150 เมตร เพื่อเตือนรถคันอื่นเมื่อจอดรถข้างทางในยามฉุกเฉิน

- ยางอะไหล่และที่เติมลมแบบพกพา

หากยางแบนหรือรั่ว การมี ยางอะไหล่ และ เครื่องเติมลม จะช่วยให้คุณเดินทางต่อได้อย่างปลอดภัย หรือพอไปถึงอู่ใกล้ที่สุด

- ถังดับเพลิงขนาดเล็ก

ควรมีติดไว้ใต้เบาะหน้า พร้อมวิธีใช้ที่ถูกต้อง – ดึงสลัก > อยู่ห่างไฟ 6-8 ฟุต > ฉีดไปที่ฐานไฟ ไม่ฉีดที่เปลวไฟ

- ค้อนทุบกระจก + ที่ตัดเข็มขัดนิรภัย

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้หนีออกจากรถได้ทันทีหากติดในกรณีเร่งด่วน เช่น รถจมน้ำ หรือประตูเปิดไม่ได้

- ไฟฉายฉุกเฉิน

สำหรับใช้ในที่มืด ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ หรือใช้ส่องซ่อมรถตอนกลางคืน

- กล้องติดรถยนต์

ช่วยบันทึกเหตุการณ์ที่อาจต้องใช้เป็นหลักฐาน อีกทั้งยังสามารถลดเบี้ยประกันได้ถึง 5% ตามข้อเสนอของ คปภ.

4. หากมีควันไฟ ควรก้มตัวหลีกเลี่ยง

 กรณีที่ไฟไหม้ หากไฟกำลังลุกลาม การเปิดหน้าต่างหรือประตูอาจทำให้ไฟลามเร็วยิ่งขึ้น ดังนั้น การเปิดประตูอย่างช้าๆ และการใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น เหล็กตีประตูรถ หรืออุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆ จะช่วยให้เอาตัวรอดได้อย่างปลอดภัย

ทั้งนี้ เทคนิคการเอาตัวรอดเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันเหตุการณ์ฉุกเฉิน หากเรามีความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือฉุกเฉิน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น เมื่อควันไฟเริ่มเข้าใกล้ตัว การก้มตัวต่ำจะช่วยให้คนบนรถสามารถหายใจได้ง่ายขึ้นในพื้นที่ที่มีอากาศสะอาด

5. ไม่ห่วงของส่วนตัว

ในเหตุการณ์ฉุกเฉิน อย่าเสียเวลาในการเก็บของส่วนตัว ควรรีบออกจากรถให้เร็วที่สุดเพื่อความปลอดภัยของตัวเราและผู้โดยสารคนอื่น ๆ 
 

เคล็ดลับการเตรียมตัวฉุกเฉินอย่างรอบด้าน

1.แบ่งเงินสำรองไว้สำหรับเรื่องรถ

กำหนดงบเบื้องต้น เช่น เดือนละ 500 – 1,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน หากยังไม่พร้อมเก็บเงินก้อนโต ยังสามารถหาทางเลือกอื่นๆ ที่ยืดหยุ่นกว่า เช่น เงินออมส่วนอื่นๆ หักจากค่าใช้จ่ายหลัก

2.ตรวจเช็กรถเป็นประจำ

การเช็กลมยาง, แบตเตอรี่, น้ำมันเครื่อง, ระบบไฟฟ้า ช่วยลดความเสี่ยงรถเสียกลางทางได้อย่างมาก

3.อย่าลืมเตรียมใจ

บางสถานการณ์แม้เตรียมตัวดีแค่ไหน ก็ยังเกิดเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ เช่น น้ำท่วม, รถชนจากคันอื่น ฯลฯ การมีทางเลือกทางการเงินเช่น สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ไว้ช่วยให้คุณตั้งหลักใหม่ได้เร็วกว่า

        หลายคนเข้าใจว่าสินเชื่อทะเบียนรถยนต์มีไว้ใช้ตอนเงินขาดมือเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว สินเชื่อทะเบียนรถสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ ASN Finance กู้ได้แม้ยังผ่อนรถไม่หมด ไม่ต้องจอดรถ ใช้รถได้ตามปกติ ดอกเบี้ยเริ่มต้น 0.69% ต่อเดือน*

*การอนุมัติสินเชื่อเป็นไปตามเงื่อนไขที่บริษัทฯกำหนด

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ


news

รู้ก่อนโอน! เช็ค 5 ข้อก่อนโอนเงิน

โอนเงินไว อาจไม่ปลอดภัย! เช็ค 5 ข้อ ก่อนกดยืนยัน พร้อมวิธีป้องกันการโดนหลอก กับ ASN Finance สินเชื่อออนไลน์ถูกกฎหมาย

news

รีไฟแนนซ์รถ ช่วยจ่ายหนี้ง่ายขึ้น จริงหรือคิดไปเอง ?

รีไฟแนนซ์รถยนต์ช่วยลดค่างวดจริงไหม? สรุปข้อดี-ข้อเสีย พร้อมเทคนิคเช็คตัวเองก่อนตัดสินใจ เปรียบเทียบชัด อ่านจบรู้เรื่อง!

news

วันหยุดนี้ ไปไหนดี? รวม 7 ที่เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ขับรถเที่ยววันเดียว

7 สถานที่เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ขับรถเที่ยววันเดียวก็ได้