รอบรู้เรื่องภาษี ฐานเงินเดือนเท่านี้จ่ายภาษีเท่าไหร่?

ใกล้สิ้นปีแล้ว เหล่าพนักงานออฟฟิศเตรียมรับโบนัสประจำปีกันอยู่แน่ๆ แต่ภาษีประจำปีก็ต้องจ่ายด้วยเช่นกัน!
โดยภาษีที่เราต้องจ่าย คำนวนมาจากฐานเดือนเดือนรวมทั้งปี คนไทยที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี กรณีโสดสนิท หรือรายได้รวมมากกว่า 220,000 บาทต่อปี กรณีมีคู่ครอง ตกแต่งกันเรียบร้อยตามกฎหมาย มีหน้าที่ต้องยื่น “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” ตามกฎหมายกันในทุก ๆ ปี เพื่อนำมาใช้จ่ายสำหรับค่าสาธารณูปโภคส่วนรวม ถือเป็นวาระแห่งชาติเพื่อความรับผิดชอบต่อสังคมนั่นเอง
รอบรู้เรื่องภาษี กับ ASN Finance ที่จะพาไปเช็กคำนวนฐานเงินเดือน รายได้เท่านี้ต้องจ่ายภาษีประจำเท่าไหร่? ไปดูพร้อมกันดีกว่า!
วิธีคำนวณภาษี
เงินเดือนที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษี จะเป็น “เงินได้สุทธิ” หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ แล้ว จากนั้นนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันได โดยมีวิธีคำนวณภาษีขั้นพื้นฐานแบบง่ายๆ ดังนี้
สูตรคำนวณการหาเงินได้สุทธิ
รายได้ (ต่อปี) - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ
สูตรคำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่ายสุทธิ
เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี (ตามขั้นบันได) = เงินภาษีที่ต้องจ่าย
ใครที่เป็นมือใหม่ ยังไม่เข้าใจการเสียภาษี หรือพึ่งหัดคำนวณฐานเงินเดือนเป็นครั้งแรก ASN Finance สรุปตารางฐานเงินเดือน กับ ภาษีที่ต้องจ่ายประจำปี มาให้ลองเปรียบเทียบกัน
เงินเดือน : 15,000 บาท
รายได้ต่อปี : 180,000 บาท
รายได้สุทธิ : 21,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : ไม่ต้องเสียภาษี
เงินเดือน : 20,000 บาท
รายได้ต่อปี : 240,000 บาท
รายได้สุทธิ : 71,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : ไม่ต้องเสียภาษี
เงินเดือน : 30,000 บาท
รายได้ต่อปี : 360,000 บาท
รายได้สุทธิ : 191,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 2,050 บาท
เงินเดือน : 40,000 บาท
รายได้ต่อปี : 480,000 บาท
รายได้สุทธิ : 311,00 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 8,500 บาท
เงินเดือน : 50,000 บาท
รายได้ต่อปี : 600,000 บาท
รายได้สุทธิ : 431,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 20,600
เงินเดือน : 60,000 บาท
รายได้ต่อปี : 720,000 บาท
รายได้สุทธิ : 551,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 35,150 บาท
เงินเดือน : 70,000 บาท
รายได้ต่อปี : 840,000 บาท
รายได้สุทธิ : 671,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 53,150 บาท
เงินเดือน : 80,000 บาท
รายได้ต่อปี : 960,000 บาท
รายได้สุทธิ : 791,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 73,200 บาท
เงินเดือน : 90,000 บาท
รายได้ต่อปี : 1,080,000 บาท
รายได้สุทธิ : 911,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 97,200 บาท
เงินเดือน : 100,000 บาท
รายได้ต่อปี : 1,200,000 บาท
รายได้สุทธิ : 1,031,000 บาท
ภาษีที่ต้องเสีย (ไม่เกิน) : 122,750 บาท
สำหรับเหล่ามนุษย์เงินเดือน ที่ทางนายจ้างหรือบริษัท หักภาษีให้อยู่แล้ว แต่ถ้ามีรายได้เสริมอื่นๆ เข้ามา เช่น รับจ้างเป็นฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ ก็จำเป็นต้องนำมาคำนวณภาษีด้วย ไม่อย่างนั้นอาจถูกเรียกตรวจสอบย้อนหลังได้
เรื่องเงินเรื่องใหญ่ คำนวนภาษีให้พร้อมก่อนถูกเรียกตรวจสอบย้อนหลัง แต่ถ้ารายได้ไม่สอดคล้องกับรายจ่าย เงินไม่พอใช้ ให้ ASN Finacne ช่วยคุณ เพียงแค่มีรถยนต์ก็สามารถแลกเป็นเงินก้อนได้ ด้วยสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ อนุมัติไว ยื่นเอกสารครบ รอนัดเซ็นสัญญาถึงที่ อัตราดอกเบี้ยคงที่ เพียง 0.69% ต่อเดือน หากสนใจสามารถขอกู้ได้ที่หน้าเว็บไซต์ และติดตามข่าวสารดี ๆกับ ASN Finance ได้เลย!
บทความอื่นๆ

เทคนิค 8-8-8 บริหารเวลาให้คุ้มค่าใน 1 วัน
รู้จักสูตร 8-8-8 วิธีบริหารเวลาแบบง่าย ๆ เพื่อชีวิตสมดุล พร้อมเคล็ดลับวางแผนการเงิน และแนะนำสินเชื่อรถยนต์ออนไลน์ ASN Finance

สินเชื่อทะเบียนรถ 2568 ที่ไหนดี?
ตัวเลือกที่ดีที่สุดในการกู้เงิน โดยไม่ต้องไปยืมเงินคนอื่น ลองขอสินเชื่อทะเบียนรถยนต์ แต่ขอสินเชื่อที่ไหนดี?2568 วันนี้ ASN Finance มีคำตอบมาให้

มีรถแต่ยังผ่อนไม่หมด กู้เงินได้ไหม?
รถยังผ่อนไม่หมดก็กู้เงินได้! สมัครสินเชื่อทะเบียนรถยนต์กับ ASN Finance ไม่ต้องโอนเล่ม ไม่ต้องจอดรถ ได้เงินจริง ดอกเบี้ยต่ำ สมัครออนไลน์