รอบรู้เรื่องภาษี ASN Finance แชร์ตัวช่วยลดหย่อนภาษีปี 2567
วาระยิ่งใหญ่แห่งปีกำลังจะกลับมาอีกครั้ง!
หลายคนคงวางแผน Check List สิ่งที่ต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนหมดปี และมีแพลนสำหรับสิ่งที่อยากทำให้สำเร็จในปีหน้ากันบ้างแล้ว ASN Finacne มาแนะนำอีกหนึ่งหน้าที่ที่หลายคนอาจมองข้ามไป นั่นก็คือ การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2566 ภายในวันที่ 31 มีนาคม. 2567 ได้ที่สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง หรือจะยื่นภาษีแบบออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ก็ได้เช่นกัน ซึ่งจะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 8 เม.ย. 2567
การยื่นภาษี เป็นหน้าที่ที่เราในฐานะคนไทยต้องรับผิดชอบหากมีเงินเดือนตั้งแต่ 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประเภทอื่นตั้งแต่ 60,000 บาทต่อปี สามารถเข้าไปเช็กวิธีคำนวนภาษีได้ในบทความ รอบรู้เรื่องภาษี ฐานเงินเดือนเท่านี้จ่ายภาษีเท่าไหร่? กันได้ สำหรับใครที่คำนวนรายได้รวมทั้งปี 2566 พร้อมเสียภาษีในปี 2567 แล้ว อย่าลืมว่ามีวิธีลดหย่อนภาษี เพื่อขอคืนเงินกลับมาที่ตัวเราได้อีกด้วย จะมีวิธีไหนบ้าง ASN Finance รวบรวมมาให้แล้วในบทความนี้ ไปดูพร้อม ๆ กันเลย!
การลดหย่อนภาษีครอบครัว และภาษีส่วนตัว
1.ค่าลดหย่อนส่วนตัว
หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท สามารถนำมาลดหย่อนได้ทันที
2.ค่าลดหย่อนคู่สมรส
หักค่าลดหย่อนได้ 60,000 บาท กรณีที่คู่สมรสไม่มีรายได้ จดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย หากคู่สมรสมีรายได้ต้องพิจารณาว่า ต้องการยื่นรายได้รวมกันหรือแยกกัน
3.ค่าลดหย่อนบุตร แบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. บุตรชอบด้วยกฎหมาย มีอายุไม่เกิน 20 ปี หรืออายุ 21-25 ปีที่กำลังศึกษากำลังศึกษาในระดับอนุปริญญา (ปวส.) ขึ้นไป
- บุตรที่เกิดก่อนปี 2561 หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
- บุตรที่เกิดหลังปี 2561 คนแรกหักค่าลดหย่อนได้ 30,000 บาท คนที่ 2 เป็นต้นไปหักค่าลดหย่อนภาษีได้คนละ 60,000 บาท
- ใช้ลดหย่อนได้ตามจำนวนบุตรจริง
- บุตรที่นำมาใช้สิทธิจะต้องมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท/ปี
2.บุตรบุญธรรม ต้องจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมถูกต้องตามกฎหมาย
- หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 3 คน
- หากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายด้วย จะต้องใช้และนับสิทธิก่อน หากใช้ครบแล้ว 3 คน จะไม่สามารถใช้สิทธิบุตรบุญธรรมได้อีก
- บุตรบุญธรรมที่นำมาใช้สิทธิจะต้องมีรายได้น้อยกว่า 30,000 บาท/ปี
3. ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร
หักได้ตามจริงที่จ่ายให้สถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน สูงสุดไม่เกิน 60,000 บาท/การตั้งครรภ์ หากเป็นครรภ์ฝาแฝดจะนับเป็น 1 การตั้งครรภ์
4.ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา มีรายละเอียดดังนี้
- หักค่าลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
- สามารถหักลดหย่อนได้ทั้งของตนเองและของคู่สมรส รวมสูงสุด 4 คน
- บิดา มารดาที่นำมาใช้สิทธิ ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท
- ในกรณีครอบครัวนั้นมีบุตรหลายคน พี่น้องจะสามารถนำบิดา มารดา ไปใช้สิทธิหักค่าลดหย่อนได้เพียงคนเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีซ้ำได้
- บุตรบุญธรรม ไม่สามารถนำบิดา มารดา ที่เป็นผู้รับบุตรบุญธรรมมาลดหย่อนได้
5.ค่าลดหย่อนอุปการะเลี้ยงดูคนพิการ หรือคนทุพพลภาพ
- หักค่าลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท
- ผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ และต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะของผู้มีรายได้
- ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้มีเงินได้ จะสามารถใช้สิทธิได้ทั้ง 2 ส่วน และไม่จำกัดจำนวนคน เช่น กรณีอุปการะเลี้ยงดูบิดา หักค่าลดหย่อนได้ 30,000 บาท และบิดาเป็นผู้พิการ ก็จะได้ค่าลดหย่อนเพิ่มอีก 60,000 บาท รวมแล้วสามารถหักค่าลดหย่อนได้ 90,000 บาท หรือกรณีเป็นคู่สมรสจะหักได้ถึง 120,000 บาท เป็นต้น
- ในกรณีที่ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ไม่ได้เป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้มีเงินได้ จะสามารถใช้สิทธิได้เพียง 1 คน
ลดหย่อนภาษีจากเงินออม เงินลงทุน และซื้อประกัน
1.เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
-สามารถหักค่าลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท จำนวนสูงสุดจะคิดที่ฐานเงินเดือน 15,000 บาท เท่านั้น
2.เบี้ยประกันชีวิต และเบี้ยประกันแบบสะสมทรัพย์
- ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีได้เท่ากับเบี้ยที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
กรมธรรม์ที่ทำต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
- หากคู่สมรสไม่มีรายได้ สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาลดหย่อนได้เพิ่มเติม และสูงสูด 10,000 บาท
3.ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุเฉพาะความคุ้มครองสุขภาพ
หักค่าลดหย่อนตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 25,000 บาท ทั้งนี้เมื่อนำเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์มารวมกัน จะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
4.ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ
-หักค่าลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
*กรมธรรม์ที่ทำต้องมีระยะเวลาคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป
- ต้องทำกับบริษัทประกันชีวิตที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น อย่างเช่น ประกันชีวิตลดหย่อนภาษีแบบบำนาญจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- ต้องมีเงื่อนไขการจ่ายผลประโยชน์เป็นรายงวดอย่างสม่ำเสมอ และต้องกำหนดช่วงอายุของการจ่ายเมื่อผู้มีเงินได้อายุตั้งแต่ 55-85 ปีขึ้นไป
5.ค่าเบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา
สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนภาษีเท่าที่จ่ายจริง และเมื่อรวมทั้งบิดาและมารดาต้องไม่เกิน 15,000 บาท โดยที่บิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ในส่วนนี้จะไม่มีเงื่อนไขอายุของบิดามารดาที่ต้องครบ 60 ปีขึ้นไป
6.เงินสะสมกองทุน หักลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง และต้องไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD)
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
- กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
7.เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)
นำมาหักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท ทั้งนี้หากสนใจที่จะลงทุนใน กอช. ภายใต้เงื่อนไขดังนี้
- ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 15-60 ปี
- ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนภายใต้ระบบประกันสังคม ยกเว้นผู้ประกันตนมาตรา 40 (1)
- ไม่ได้เป็นข้าราชการ และสมาชิก กบข., ไม่ได้เป็นสมาชิกในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) และไม่ได้เป็นพนักงานประจำ
- เข้าใจง่าย ๆ ว่า เป็นกองทุนสำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ซึ่งไม่ได้มีนายจ้างนั่นเอง
8.การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
เงินที่ลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษีอย่าง RMF (Retirement Mutual Fund) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้ตามจริง โดยจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
9.การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)
เงินที่ซื้อกองทุนลดหย่อนภาษี SSF (Super Saving Funds) สามารถนำมาหักค่าลดหย่อนได้ตามจริง โดยจะลดหย่อนได้ไม่เกิน 30% ของรายได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท ทั้งนี้ปัจจุบันจะให้สิทธิลดหย่อนได้ 5 ปี คือ ปี 2563-2567
10.เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise)
หักค่าลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องลงทุนหรือลงหุ้นในธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมภายในข้อกำหนดของ พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562
ลดหย่อนด้วยการบริจาค
1.เงินบริจาคทั่วไป
ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน
2.เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน คือ
- สถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
- สถานพยาบาลของรัฐ
- การบริจาคผ่าน e-Donation ผ่านสภากาชาด, กองทุนยุติธรรม, หน่วยงานด้านกีฬาที่สังกัดสมาคมกีฬาแห่งประเทศไทย, กองทุนเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กองทุนสนับสนุนการวิจัยตามกฎหมาย, กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา, กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขม, กองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้ง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อพัฒนาเด็กเล็ก, การจัดหาหนังสือหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการอ่าน ให้กับสถานศึกษาของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชน หรือสถาบันอุดมศึกษา, โครงการฝึกอบรมอาชีพ สถานพักฟื้น บำบัด และฟื้นฟูเด็ก และเงินบริจาคให้คนพิการเพื่อการเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ
3.เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง
สามารถนำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท
ลดหย่อนกับมาตรการช้อปดีมีคืน
เป็นการนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้า บริการ และการเติมน้ำมัน ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 15 ก.พ. 2566 มาลดหย่อนภาษีที่จะต้องในปี 2566 สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 40,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ค่าซื้อสินค้า-บริการ จำนวน 30,000 บาทแรก ออกใบกำกับภาษีแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์
- ค่าซื้อสินค้า-บริการ อีกจำนวน 10,000 บาท ออก ใบกำกับภาษีรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรณีที่ซื้อสินค้า 40,000 บาท ไม่ได้แปลว่าจะหักภาษีได้ 40,000 บาท แต่จะลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่นั้นอยู่ที่ฐานภาษีของตนเอง ต้องคำนวณจากเงินได้สุทธิที่เหลืออยู่ด้วย
ทั้งหมดนี้ก็เป็นเทคนิคการลดหย่อนภาษีที่อาจช่วยลดค่าภาษีที่จพต้องยื่นให้กับทุกคนที่มีรายได้ประจำได้ ลดได้มาก ลดได้น้อย หรือบางคนอาจไม่ต้องจ่ายภาษีเลยด้วยซ้ำหากมีสิทธิลดหย่อนภาษีตามเงื่อนไขที่กล่าวไปข้างต้น
จ่ายภาษีประจำ หักค่าลดหย่อนไปแล้ว แต่ยังไม่มีเงินใช้ ต้องการตัวช่วย ให้มาที่ ASN Finance แก้ไขทุกปัญหาด้วยสินเชื่อรถยนต์ เพียงแค่มีรถยนต์ ก็สามารถนำมาแลกเปลี่ยนเป็นเงินก้อนได้ ไม่ต้องกังวลดอกเบี้ยแพง เพราะ ASN Finance คำนวนอัตราดอกเบี้ยคงที่ เริ่มต้นเดือนละ 0.69% รถผ่อนอยู่ก้ยื่นกู้ได้ ไม่ต้องมีคนค้ำ ไม่เช็กประวัติบูโร ส่งเอกสานครบ อนุมัติไว มีเงินทันใช้แน่นอน!
บทความอื่นๆ
รู้ทันมิจฉาชีพ “บัญชีม้า” คืออะไร อันตรายแค่ไหน?
ปัจจุบันรูปแบบกลลวงของมิจฉาชีพเริ่มซับซ้อนขึ้น หนึ่งในรูปแบบที่มีเหยื่อได้รับความเดือดร้อนมากที่สุด คือ การลวงให้เปิด “บัญชีม้า” ASN Finance พามารู้จัก อาวุธลับของมิจฉาชีพ “บัญชีม้า” อ่านต่อ >
ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับสินเชื่อ Non-bank
ASN Finance พามารู้จักกับอีกหนึ่งทางเลือกใหม่ที่อาจทำให้ปัญหาการเงินของถูกแก้ไขอย่างรวดเร็วกว่าที่คิด! พร้อมทำความเข้าใจกับความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับสินเชื่อ Non-bank ในบทความนี้ อ่านต่อ >
5 เรื่องต้องรู้ "จ่ายขั้นต่ำ"
เลือกจ่ายเพียงยอดขั้นต่ำอาจกลายเป็นดาบสองคมที่เพิ่มหนี้สินและดอกเบี้ยได้ บทความนี้ ASN Finance รวม 5 เรื่องต้องรู้ "จ่ายขั้นต่ำ" ก่อนทำพิษเครดิตการเงิน อ่านต่อ >