แก้หนี้เรื้อรัง ปรับโครงสร้างหนี้ ตามมาตรการของ ธปท.

news

 

หนี้เสีย หรือ NPL (Non-performing Loan) คืออะไร?

          หนี้เสีย หรือ NPL (Non-performing Loan) คือ หนี้จากการกู้ยืม และจ่ายกลับคืนไม่ไหว ซึ่งอาจถึงขั้นวิกฤต สาเหตุมาจาก การกู้ยืมเงินจากธนาคาร หรือสถาบันทางการเงิน ที่ไม่ได้มีการชำระเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนด

          ปัจจุบันสถาบันการเงินส่วนใหญ่มักพยายามจัดการ หนี้เสีย ผ่านกลยุทธ์ต่างๆ เช่น การปรับโครงสร้างหนี้สิน  หรือการพิจารณาการดำเนินคดีทางกฎหมาย เพื่อเยียวยาการชำระหนี้ที่เกิดขึ้น บทความนี้ ASN Finance รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการแก้ไขหนี้เรื้อรังของธนาคารแห่งประเทศไทย 

 

เช็กสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา ถ้าเห็นสัญญาณแบบนี้ สามารถคุยกับเจ้าหนี้ได้เลย

1.จ่ายช้าบ่อย ๆ จนทะลุ Deadline ไม่สามารถรักษาวินัยในการชำระหนี้คืนได้เลย

2.เลือกจ่ายขั้นต่ำเป็นประจำ เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินไม่ดี

3.กดบัตรเงินสดเพื่อนำมาจ่ายหนี้อื่น เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่

4.รายได้ไม่พอรายจ่าย

 

เจ้าหนี้ต้องเสนอปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ ที่ยังไม่เคยได้รับการปรับโครงสร้างหนี้ ตามรายละเอียด ดังนี้ 

          1. ก่อนเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง เมื่อเริ่มมีสัญญาณว่าลูกหนี้กำลังมีปัญหา โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจปรับโครงสร้างหนี้ก่อนกลายเป็น NPL

          2. หลังเป็น NPL อย่างน้อย 1 ครั้ง  โดยให้ลูกหนี้มีเวลาตัดสินใจ ก่อนถูกโอนขายหนี้หรือยึดทรัพย์ 

          - เจ้าหนี้ห้ามโอนขายหนี้ก่อนครบกำหนด 60 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้ /กรณีให้เช่าซื้อหรือให้เช่าแบบลิสซิ่ง ต้องไม่บอกเลิกสัญญาหรือจำหน่ายทรัพย์ก่อนครบกำหนด 15 วัน หลังเสนอแผนปรับโครงสร้างหนี้

 

ลูกหนี้ปิดหนี้ก่อนได้โดยไม่ต้องจ่าย Prepayment fee 

Prepayment fee  คือ ค่าปรับจากการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด

แบงก์ชาติ ห้ามเรียกเก็บ prepayment fee ในสินเชื่อภายใต้กำกับของแบงก์ชาติดังนี้

- สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ

- สินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้การกำกับ (Nano finance)

- สินเชื่อจำนำทะเบียนรถ

- สินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล

- สินเชื่ออุปโภคบริโภคอื่น ๆ เช่น สินเชื่อสวัสดิการ

* ยกเว้นสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ผู้ให้บริการยังเรียกเก็บ prepayment fee ได้ในกรณีรีไฟแนนซ์ในช่วง 3 ปีแรกนับจากวันทำสัญญา เพื่อให้ลูกหนี้มีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำในช่วง 3 ปีแรก
 

Q&A : มีหนี้กับหลายเจ้าหนี้จะทำอย่างไร?

1.ติดต่อเจ้าหนี้เพื่อขอปรับโครงสร้างหนี้ โดยแจ้งข้อมูลภาระหนี้ทั้งหมดให้ครบถ้วน

2.เจ้าหนี้ต้องแจ้งลูกหนี้ให้ทราบภาระหนี้ พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาค้างชำระ ค่าธรรมเนียมการทวงถาม เบอร์ติดต่อในการชำระหนี้ ช่องทางขอคำปรึกษา สิทธิ/วิธีการ/ช่องทางการร้องเรียน

3.ถ้าเป็นหนี้บัตรเครดิต ยอดหนี้รวมไม่เกิน 2 ลบ. ค้างชำระเกิน 120 วัน ขอเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้ได้

 

          ติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรมและรับผิดชอบเป็นอย่างไร?- เจ้าหนี้ต้องแจ้งลูกหนี้ให้ทราบภาระหนี้ พร้อมข้อมูลสำคัญอื่น ๆ เช่น ระยะเวลาค้างชำระ ค่าธรรมเนียมการทวงถาม เบอร์ติดต่อในการชำระหนี้ ช่องทางขอคำปรึกษา สิทธิ/วิธีการ/ช่องทางการร้องเรียน

*หมายเหตุ ห้ามเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ก่อน ยกเว้นลูกหนี้ล้มละลาย ติดต่อไม่ได้

 

มารู้จัก หนี้เรื้อรังคืออะไร แค่ไหนที่เรียกว่าเรื้อรัง

- ลูกหนี้สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่เป็นวงเงินหมุนเวียน ไม่ได้ชำระเป็นงวด

- ยังไม่เป็นหนี้เสีย

- จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น เป็นระยะเวลานาน

ลูกหนี้เรื้อรังมีกี่แบบ?

- เริ่มเรื้อรัง (general PD)  จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น ในช่วง 3 - 5 ปีย้อนหลัง
- เรื้อรัง (severe PD) จ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้น 5 ปีขึ้นไป มีเงินเดือนไม่ถึง 2 หมื่นบาท (กรณีลูกหนี้กลุ่มแบงก์) หรือไม่เกิน 1 หมื่นบาท (กรณีลูกหนี้นอนแบงก์) ทั้งนี้ ธปท. กำหนดเกณฑ์รายได้ เพื่อมุ่งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่เดือดร้อนที่สุดก่อน โดยพิจารณาความเรื้อังและรายได้ที่ไม่สูงมากของลูกหนี้

*หมายเหตุ  ถ้าเข้าข่ายตามนี้ จะมีทางเลือกปิดจบหนี้ เริ่ม 1 เมษายน 2567

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นหนี้เรื้อรัง?

          เจ้าหนี้จะแจ้งเตือนลูกหนี้ ความถี่ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทั้งลูกหนี้เริ่มเรื้อรัง (general PD) และลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD)  รวมไม่ต่ำกว่า 3 ครั้งต่อบัญชี จะแจ้งเตือนครั้งแรก ภายใน เม.ย. 67

แจ้งอะไรบ้าง ?

          แจ้งผ่านทางใดทางหนึ่ง > จดหมาย / อีเมล / SMS / โมบายแอปพลิเคชัน / Line official

 

หากได้รับการแจ้งเตือนว่าเป็นลูกหนี้เรื้อรัง ลูกหนี้จะได้รับอะไร ?

ลูกหนี้เรื้อรัง (severe PD) มีสิทธิเลือกเข้าร่วมมาตรการแก้หนี้

- ระยะเวลาปิดจบภายใน 5 ปี 

- อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ต่อปี 

- เงื่อนไขผ่อนไหวเหมาะสมกับรายได้

- ต้องระงับวงเงินสินเชื่อของบัญชีที่เข้าร่วมมาตรการ เพื่อให้สามารถปิดจบได้จริง

*หมายเหตุ  สำหรับลูกหนี้ที่เริ่มเรื้อรัง (general PD)  ให้รีบติดต่อเจ้าหนี้ หากต้องการแก้หนี้  เจ้าหนี้จะมีแนวทางให้ความช่วยเหลือที่เหมาะสมเป็นรายกรณี

 

3 เรื่องต้องคิด ก่อนขอปิดจบหนี้เรื้อรัง  ตามมาตรการแก้หนี้เรื้อรัง ปิดจบหนี้ใน 5 ปี   ดอกเบี้ยไม่เกิน 15% 

1.มีประวัติ NCB

2.ระงับวงเงินสินเชื่อเดิม (แต่เมื่อเข้าร่วมมาตรการแล้ว อาจได้รับวงเงินเฉพาะกรณีฉุกเฉิน)

3.ได้รับสิทธิ 1 ครั้ง ต่อ 1 บัญชีสินเชื่อ 

 

Q&A : มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง

ถาม: ทำไมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังไม่รวมหนี้บัตรเครดิต?

ตอบ: เพราะหนี้บัตรเครดิตมีอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการผ่อนชำระ ที่กำหนดให้ชำระเงินต้นมากกว่าดอกเบี้ยทำให้สามารถปิดจบได้ในระยะเวลาไม่นาน แม้จ่ายขั้นต่ำ (แต่ต้องไม่มีการเบิกใช้เพิ่ม) จึงไม่เข้าข่ายหนี้เรื้อรังนั่นเอง

          ในขณะที่หนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคลหรือบัตรกดเงินสด จะมีการกำหนดชำระขั้นต่ำที่ต่ำกว่าหนี้บัตรเครดิต และแบ่งสัดส่วนของการหักเงินต้นแต่ละครั้งจะน้อยกว่าดอกเบี้ย ยกตัวอย่าง กรณีกำหนดให้ลูกค้าจ่ายขั้นต่ำที่ 3% ของเงินต้น ในอัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี จะตัดเงินต้นที่ประมาณ 1% และเป็นดอกเบี้ยประมาณ 2% ซึ่งหากลูกค้าเลือกจ่ายขั้นต่ำเป็นเวลานาน อาจจะทำให้เกิดการจ่ายดอกเบี้ยเกินเงินต้นและทำให้เป็นหนี้เรื้อรังได้

ถาม: ทำไมต้องปิดวงเงินเมื่อเข้าร่วมมาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง?

ตอบ: เพื่อสร้างวินัยทางการเงินและปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี 

ถาม: การเข้ามาตรการปิดจบหนี้เรื้อรังจะมีการรายงานข้อมูลในเครดิตบูโร (NCB) หรือไม่

ตอบ: มี โดยเป็นรายงานประเภทสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รหัส 03 ซึ่งไม่กระทบต่อสถานะบัญชีของลูกค้าและแปลว่าสถานะบัญชีลูกค้ายังเป็นปกติ ไม่ใช่หนี้เสีย ซึ่งเป็นการรายงานที่ช่วยให้ผู้ให้บริการทราบถึงความตั้งใจที่ดีของลูกหนี้ที่ต้องการแก้ไขหนี้เรื้อรัง

          สุดท้ายแล้ว การเป็นลูกหนี้ไม่ใช่เรื่องใหญ่เสมอไป ตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ ลูกหนี้สามารถยื่นคำขอเจรจาเพื่อเข้าคลินิกบำบัดหนี้ประกอบได้ด้วย

          ASN Finance เชื่อมั่นว่าลูกหนี้ทุกคนมีทางเลือกที่ผ่อนหนักให้เป็นเบา บรรเทาวิกฤตการเงินด้วย สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ กับ ASN Finacne ดอกเบี้ยเริ่มต้น  0.69% ต่อเดือน* ขอกู้ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์  asnfinance.com รถผ่อนอยู่ก็ขอกู้ได้ อนุมัติไว ให้วงเงินสูง 

* เฉพาะระยะเวลาผ่อนชำระ 12 และ 24 งวด อัตราดอกเบี้ย 15% ต่อปี ซึ่งยังไม่รวมถึงค่าบริการและค่าธรรมเนียมอื่นๆ

 

ที่มาข้อมูล : สภาองค์กรผู้บริโภค / ธนาคารแห่งประเทศไทย

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ


news

เงินสํารองฉุกเฉิน ควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี ?

ฉุกเฉินทั้งปี เอาเงินที่เก็บมาใช้ก็ไม่เรียกว่าเงินเก็บสำรองฉุกเฉินแล้ว ASN Finance พาไปสำรวจเงินสำรองฉุกเฉิน เริ่มเก็บยังไง ควรมีเท่าไหร่ถึงจะดี แล้วฉุกเฉินแค่ไหน ถึงเรียกว่าฉุกเฉิน อ่านต่อ >

news

เปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ แต่ติดไฟแนนซ์ ทำยังไง?

อยากเปลี่ยนเลขทะเบียนรถยนต์ แต่ยังติดไฟแนนซ์อยู่ ต้องทำยังไง? ASN Finance มาแชร์ขั้นตอนเปลี่ยนทะเบียนรถใหม่ที่ถูกต้อง อ่านต่อ >

news

คำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม?

ใครเคยเอารถเข้าไฟแนนซ์ก็คงรู้ดีว่ากว่าอนุมัติ ต้องตรวจสอบความถูกต้องละเอียดมากแค่ไหน ASN Finance ตอบคำถามสุดฮิต! ติดไฟแนนซ์ แจ้งเปลี่ยนสีรถได้ไหม? ในบทความนี้กัน อ่านต่อ >